วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง


  • การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง
การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
  1. การเคลื่อนที่ทางเดียว
  2. การเคลื่อนที่สองทาง (ไปแล้วกลับ)
  • คำสำคัญที่ควรทราบและระมัดระวังในการใช้
  1. ระยะทาง และ ระยะกระจัด ------- แทนด้วย S หน่วยคือ เมตร(m.)
  2. ความเร็ว และ อัตราเร็ว ------- แทนด้วย V หน่วยคือ เมตร/วินาที(m/s.)
  3. ความเีร่ง และ อัตราเร่ง ------- แทนด้วย a หน่วยคือ เมตร/วินาทียกกำัลัง 2(m/s^2)
  • ระยะทาง (Distance)
ความยาวที่วัดตามเส้นทางการเคลื่ือนที่ในแนวตรงของวัตถุใดๆ
  • ระยะกระจัด คือระยะจากจุดเริ่มต้นเคลืือนที่จนไปถึงจุดสุดท้าย โดยไม่สนใจว่าวัตถุเคลื่อนที่แบบใดก็ตามเราสนใจแค่จุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายเท่านั้น
  • ความเร็ว (Velocity) คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของระยะทางเทียบกับเวลา
  • อัตราเร็ว คือ ระยะทางที่เคลื่อนที่ได้หารด้วยเวลาที่ใช้ทั้งหมด
  • ความเร่ง (Acceleretor) คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วเทียบกับเวลา
  • อัตราเร่ง คือ การเปลี่ยนแปลงความเร็วเทียบกับเวลา
คำพวกนี้ห้ามใช้สลับกันเป็นเด็ดขาดนะครับเพราะสำคัญมากในทางฟิสิกส์ ควรเข้าใจความหมายและใช้ให้ถูกต้องเสมอ ในบทความต่อไปผมจะเปิดฉากการคำณวนอย่างง่ายเริ่มไปถึงยากเพื่อให้น้องๆได้ทำความเข้าใจ และใช้เตรียมตัวในการสอบนะครับ จริงๆแล้วบทเรียนนี้ถ้าเข้าใจเสียแล้วจะไม่มีอะไรที่ยากและจะทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนวิชาฟิสิกส์ครับ

1 ความคิดเห็น: